สารโพแทสเซียมคลอเรต

โพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) เป็นสารเคมีที่มีใช้กันมากในการเกษตร โดยเฉพาะสวนลำไยเพื่อใช้เป็นสารเร่งดอก และผลลำไยให้ออกนอกฤดู มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสคล้ายเกลือ ละลายน้ำได้ไม่ค่อยดี




โพแทสเซียมคลอเรต สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการทางเคมี โดยใช้วิธีการผ่านก๊าซคลอรีนลงในสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่อุณหภูมิสูงหรือวิธีการผ่านกระแสไฟฟ้าในสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเกิดโพแทสเซียมคลอเรตตกผลึกในสารละลาย

คุณสมบัติทางเคมี
- ประกอบด้วยธาตุโพแทสเซียม (K) คลอรีน (Cl) และออกซิเจน (O)
- จุดหลอมเหลว 356 องศาเซลเซียส
- ไม่ดูดความชื้น
- เป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง และจะปล่อยออกซิเจนอย่างรวดเร็วในปริมาณมาก

ความเป็นมาของการใช้โพแทสเซียมคลอเรตเร่งดอกลำไย
การค้นพบเกี่ยวกับประโยชน์ของสารโพแทสเซียมคลอเรตสำหรับใช้เร่งดอกลำไยให้ออกนอกฤดู นั้น ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยนักทำดอกไม้ไฟในเมืองจีน ราว พ.ศ. 2525 ที่นำประทัดไปทิ้ง และฝังไว้บริเวณโคนต้นลำไย จนสังเกต พบว่า ลำไยมีการออกดอก และติดลูกนอกฤดูในทุกปี ในช่วงหลังมีการทดลองนำน้ำล้างภาชนะใส่สารดอกไม้ และน้ำละลายสารดอกไม้ไฟมาเทรดโคนต้นลำไย จนเป็นที่ทราบว่าสารในดอกไม้ไฟสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูได้ แล้วมีการทดลองใช้ และผลิตออกมาจำหน่ายในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะนำเข้ามาจากประเทศจีน

วิธีการใช้
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อเร่งลำไยให้ออกนอกฤดู นิยมทำก่อนหน้าฤดูลำไยจะออกดอกในทุกปี โดยการหว่านโพแทสเซียมคลอเรตหรือใช้ละลายน้ำรดบริเวณโคนต้นลำไย ในอัตราตั่งแต่ 8 กรัม/ตารางเมตร หลังจากนั้นประมาณ 20-30 วัน ลำไยจะแทงช่อดอกออกมา ทั้งนี้ จะทำร่วมกับการตัดแต่งกิ่งจนใบลำไยที่แตกกิ่งใหม่เป็นใบแก่แล้ว ไม่ควรใช้ในระยะมีใบอ่อน เพราะจะให้ดอกน้อย

กลไกการกระตุ้นดอก
โพแทสเซียมคลอเรตเมื่อแตกตัวจะให้อนุมูลคลอเรต ที่เป็นประจุลบของ ClO3 เข้าจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสที่พืชสร้างขึ้นสำหรับเปลี่ยนไนเตรท (NO3) เป็นไนไตรท์ (NO2) และเป็นกรดอะมิโนสำหรับการเจริญเติบโตที่ได้จากการดูดแร่ธาตุในดิน

กลไกการกระตุ้นให้ลำไยออกดอกยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่มีการวิจัย และตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ คือ

1. เมื่ออนุมูลคลอเรตจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสกลายเป็นประจุลบของ ClO2 ทำให้เอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสไม่สามารถทำงานได้จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบให้ชะงักลง ทำให้ต้นลำไยกระตุ้นการสร้างดอกขึ้นมาทดแทน

2. เมื่อต้นมีการหยุดชะงักของการเจริญเติบโตทางใบจากผลของ ประจุลบ ClO2 จาการใส่โพแทสเซียมคลอเรตทำให้อัตราคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ในลำต้นมีอัตราเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้ต้นลำไยเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอกแทน

ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากโพแทสเซียมคลอเรตเป็นสารออกซิไดซืที่รุนแรง สามารถให้ออกซิเจนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับเป็นสารที่ไม่ดูดความชื้นจึงอาจเกิดการระเบิดได้ง่ายเมื่อถูกกระแทกหรือเสียดสี

2. เมื่อผสมกับวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงอโลหะ เช่น ผงถ่าน ผลอลูมิเนียม ผงสังกะสี ผงแมกนีเซียม จะมีคุณสมบัติติดไฟ และระเบิดได้ง่าย

3. การจัดเก็บ ควรจัดเก็บในโรงเรือนที่แดดไม่ส่องถึง การระบายอากาศดี ไม่มีความชื้น


ที่มา http://www.siamchemi.com
 สาระน่ารู้
สารโพแทสเซียมคลอเรต (Potassium chlorate; KClO3) มีคุณสมบัติเป็นของแข็งถ้าอยู่ในรูปผลึกจะใสและไม่มีสี เมื่อนำมาบดเป็นผงจะมีสีขาวละลายน้ำได้น้อย โดยสาร 1 กรัม ต้องใช้น้ำในการละลาย 16.5 มิลลิลิตร แต่ละลายได้ดีในน้ำเดือดโดยใช้น้ำเพียง 1.8 มิลลิลิตร สารนี้ มีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดซ์อย่างแรง คือเป็นสารที่ให้ออกซิเจนในปฏิกิริยาออกซิเดชั่น จึงมีการนำสารนี้มาใช้ในการทำพลุ ดอกไม้ไฟ ทำไม้ขีดไฟ ชนวนจุดระเบิด สีย้อม การฟอกหนัง ตลอดจนสารฆ่าเชื้อโรค สารนี้มีค่าจุดเดือดที่ 400 องศาเซลเซียส จุดหลอมเหลว 368องศาเซลเซียส น้ำหนักโมเลกุล 122.55 และมีค่าความถ่วงจำเพาะ 2.32
http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/HO416/html/pa0098.htm