ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนลำไยกำลังตื่นตัวกันเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับการใช้สารเคมีเพื่อให้ลำไยออกดอกนอกฤดูกาล เพราะปกติแล้วการออกดอกติดผลของลำไยจะต้องมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม กล่าวคือ ช่วงก่อนการออกดอก ใบและยอดจะต้องหยุดการผลิใบ มีการสะสมอาหารเพียงพอ ใบอยู่ในสภาพแก่ทั้งต้น มีอุณหภูมิหนาวเย็นประมาณ 10-20 องศาเซลเซียสช่วงหนึ่งก่อนการออกดอก เมื่อมีการใช้สารเคมีทำให้ลำไยออกดอกได้แล้วความหนาวเย็นก็จะไม่มีความจำเป็นต่อการออกดอกของลำไยอีกต่อไป แต่ในการผลิตลำไย นอกจากจะมุ่งผลิตเพื่อเพิ่มปริมาณของผลผลิตแล้วผู้ผลิตควรจะต้องคำนึงถึงการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพทางการตลาดด้วย ซึ่งในการเพิ่มปริมาณและปรับปรุงคุณภาพผลผลิตนั้น เกษตรกรต้องมีความรู้และความเข้าใจในปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของต้นเพื่อการออกดอกติดผลตลอดจนการจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณ และปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการผลผลิตลำไย ให้มีคุณภาพ เพื่อให้การลงทุนทำสวนลำไยนั้นได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า
หัวใจสำคัญ
1.ต้องเตรียมต้นลำไยให้สมบูรณ์ สะสมอาหารได้มากพอ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
2.รู้จักการใช้สารอย่างถูกต้อง ทำความเข้าใจถึงบทบาทและหน้าที่ของสารที่จะใช้ ซึ่งมีผลต่อต้นพืช
3.สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ฝนไม่ตกชุก และอากาศไม่หนาวเย็นเกินไป ช่วงดอกบาน
4. มีความพร้อมทั้งด้านทุน แรงงาน และเวลาในการดูแลรักษา
กระบวนการออกดอกของลำไยโดยธรรมชาติ ในปัจจุบันนักวิชาการเชื่อว่าก่อนที่พืชทั่วไปจะออกดอกนั้น จะต้องมีการเก็บสะสมอาหารที่อยู่ในรูปคาร์โบไฮเดรต ซึ่งได้จากกระบวนการสังเคราะห์แสงจนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งเพียงพอต่อการนำไปใช้เป็นพลังงานในการสร้างตาดอกได้ต่อปี ต้องมีการลดระดับการสร้างฮอร์โมนพืชบางชนิดลง เช่น จิบเบอเรลลิน เพื่อไม่ให้ไปควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์ โปรตีน และสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ภายในเซลล์พืช ซึ่งจะทำให้พัฒนาการทางด้านการแตกกิ่ง ใบ ลดลง
สำหรับในลำไยก็เช่นเดียวกันกระบวนการออกดอกในแต่ละรอบปี หลังจากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เมื่อมีการให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างมาก ช่วงนี้ต้นลำไยจะได้รับธาตุ
ไนโตรเจน (N) อย่างเต็มที่ ทำให้สามารถสังเคราะห์ฮอร์โมนจิบเบอเรลลินได้ค่อนข้างสูง ส่งผลให้ลำไยแตกใบอ่อนขึ้นต่อมาในช่วงที่ใบเจริญก็จะมีการ
สังเคราะห์แสง สร้างพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ของเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของต้น
ดังนั้น ช่วงนี้พลังงานและสารอาหารจึงมักจะถูกใช้หมดไป ประกอบกับฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ภายในต้นยังมีระดับค่อนข้างสูง จึงทำให้เกิดการแตกใบอ่อนอีกประมาณ 1-2 ชุด เมื่อสภาพแวดล้อม
เหมาะสม ฝนทิ้งช่วง ดินแห้ง ต้นลำไยจะลดการสร้างฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน
ลง ทำให้หยุดการแตกใบอ่อนประกอบกับต้นลำไยมีการสะสม
อาหารมากพอ จนถึงระดับที่สามารถสร้างตาดอกได้ เมื่อมีอุณหภูมิต่ำประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส ระยะหนึ่ง ก็จะทำให้ลำไยออกดอกได้
กระบวนการออกดอกของลำไยที่ทำสาร
โปแตสเซียมคลอเรต (Potassium Chlorate) เป็นสารประเภทออกซิไดซิ่งเอเจนท์ที่แรงมาก เช่นเดียวกับโซเดียมคลอเรต
(Sodium Chlorate) หรือโลหะคลอเรตอื่น ๆ ถ้าผสมกับสารพวกรีดิวซิ่งเอเจนท์ เช่น กำมะถัน น้ำตาลทรายและรีดิวซิ่งเอเจนท์ต่าง ๆ
หรือสารไฮโดรคาร์บอน หรือรวมกับกรดกำถัน จะเกิด ปฏิกิริยาอย่างต่อเนื่องและเกิดการระเบิดได้ การขัดถู การเสียดสี การบดอัด
ก็เกิดการจุดชนวนระเบิดได้ เช่นเดียวกับประกายไฟ เมื่อใช้โปแตสเซียมคลอเรต หรือโซเดียมคลอเรต ละลายน้ำราดลงดิน
พอรากพืชดูดสารคลอเรตเข้าไปในระบบ จากการที่เป็นออกซิไดซิ่งเอเจนท์ที่แรงจัด ก็จะไปออกฤทธิ์กับสารรีดิวซิ่งเอเจนท์ในราก
และระบบท่อน้ำของพืช ทำให้การเจริญเติบโตของรากหยุดชะงักอย่างรุนแรง ซึ่งที่สำคัญคือสารนี้จะเข้าแข่งขัน แก่งแย่งหรือทำลายการทำงาน
ของเอนไซม์ไนเตรทรีดั๊กเต๊ซ (nitrate reductase:NR) เท่ากับเป็นการหยุดการทำงานของ
ไนโตรเจนเมทาโบลิซึม (nitrogen metabolism) คือทำให้จำนวนไนโตรเจนที่เป็นประโยชน์ในต้นพืชลดลงฉับพลัน
แต่พืชยังสร้างคาร์โบไฮเดรตได้ตามปกติ ทำให้ต้นลำไยมี ซี:เอ็น เรโช (C/N ratio) กว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว และลำไยก็ออกดอกได้ลำไยที่ถูก
ราดสารต้องได้รับการให้น้ำอย่างมากหรืออย่างเพียงพอ เพื่อให้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของราก ทำหน้าที่แทนรากขนอ่อนที่ถูกทำลายไป
ถ้าใช้มากหรือเข้มข้น เกินไป จะทำให้พืชใบเหลืองตามอาการขาดไนโตรเจน
ซึ่งที่จริงไม่ได้ขาด แต่สารคลอเรตทำให้พืชใช้ไนโตรเจนไม่ได้ ในสภาพที่รากพืชไม่ได้รับปุ๋ยในรูปของ ไนเตรท
ต้นจะอ่อนไหวและอ่อนแอมากต่อคลอเรต แต่ในทางกลับกันหากสภาพแวดล้อมของรากอุดมด้วยไนเตรท การใช้สารคลอเรตมัก
ได้ผลไม่เต็มที่
การเปลี่ยนจากตาใบ ไปเป็นตาดอกของลำไยนี้ ตายอดของลำไยจะต้องอยู่ในระยะที่กำลังผลิ (Active) หากไม่ได้ให้น้ำหรือ
ตาอยู่ในระยะพักตัว การเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลส่วนหนึ่งที่พบว่าภายหลังจากการราดสารคลอเรตแล้ว
ต้นลำไยไม่ออกดอก หรือตายไป ดังนั้น การให้น้ำภายหลัง การให้สารแล้ว จะช่วยให้ปริมาณของสารคลอเรตนี้ลดลงไปได้ทางหนึ่ง
นอกจากนี้การให้ปุ๋ยในรูปไนเตรท ภายหลังจากต้นออกดอกแล้ว อาจจะเป็นช่องทางหนึ่ง ของการฟื้นฟูสภาพต้นลำไย
เนื่องจากต้นได้ถูกยับยั้งการใช้ธาตุไนโตรเจนไปอย่างรุนแรง
ช่วงที่เหมาะสมในการกระตุ้นการออกดอกด้วยสารคลอเรต
ผู้ที่จะผลิตลำไยมีจุดประสงค์หลักอย่างเดียวกันคือ ต้องการให้ต้นลำไยสามารถออกดอกติดผล และมีผลผลิตออกจำหน่ายได้ก่อนหรือหลังฤดูปกติ แต่อย่างไรก็ตามผู้ผลิตจำเป็นต้องพิจารณาถึงความแตกต่างของสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องที่ มาประกอบการตัดสินใจด้วยว่าควรจะใช้สารคลอเรตกับลำไยในช่วงใด จึงจะประสบผลสำเร็จ
ได้ดีที่สุด ซึ่งในที่นี้จะขอแนะนำเป็น 3 ช่วงคือ
1.ช่วงเดือนเมษายน – กรกฎาคม จะสามารถผลิตลำไยออกหลังฤดูปกติประมาณ 2-4เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้อื่นในตลาดไม่มากนัก (ตุลาคม – มกราคม) หลักสำคัญก็คือ จัดเป็นช่วงที่ในระยะการพัฒนาการของผลลำไยอยู่ในฤดูฝน เหมาะสำหรับในเขตที่อาศัยน้ำฝนหรือแหล่งน้ำในสวนมีไม่มากนัก ข้อจำกัดที่มักจะเกิดขึ้นคือ ถ้าราดสารในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ระยะที่ดอกบานมักจะตรงกับช่วงฝนตกชุก อาจมีปัญหาในการติดผลได้
2. ช่วงเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน จะสามารถผลิตลำไยออกก่อนฤดูปกติ 2 - 4 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีผลไม้อื่นออกสู่ตลาดบ้างเล็กน้อย ตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูง
(กุมภาพันธ์ –มิถุนายน) เหมาะสำหรับสวนที่มีแหล่งน้ำเพียงพอ เพราะระยะการพัฒนาการของผลลำไยอยู่ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง ข้อจำกัดที่มักจะเกิดขึ้น คือ ถ้าราดสารในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ระยะดอกบานมักจะตรงกับช่วงที่มีลมหนาว อาจจะมีปัญหาในการติดผลได้
3. ช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ ผลผลิตจะออกมาตรงกับช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงการออกสู่ตลาดของลำไยในฤดูปกติ
http://www.chanthaburi.doae.go.th/new%20information_53/fruits06082012.html
หลังจากเตรียมต้นลำไยมาตลอดระยะเวลา 5-6 เดือนที่ผ่านมา และได้รับการบำรุงต้นสะสมอาหารมาอย่างสมบูรณ์เต็มที่แล้ว และลำไยผ่านการแตกยอดอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้งก็สามารถราดสารโปแตสเซียมคลอเรตเพื่อชักนำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูได้ ขั้นตอนมีดังนี้ เมื่อลำไยแตกยอดอ่อนครั้งที่สอง ฉีดพ่นทางใบด้วยด้วยปุ๋ยสุตร 0-52-34 อัตรา 1 กก. ต่อน้ำ 200 ลิตร จำนวนสองครั้ง ห่างกัน เจ็ดวัน เมื่อลำไยใบแก่ หรือหลังจากใบแตกยอดอ่อนครั้งที่ 2 อายุใบได้ 45 วัน ก้านยอดจะมีสีน้ำตาล เป็นช่วงที่เหมาะที่สุดที่จะทำการราดสารโปแตสเซียมคลอเรตเพื่อที่จะทำให้ลำไยออกดอกนอกฤดูได้ดี
ต้นลำไยที่จะทำการราดสารต้องงดการให้น้ำจนดินแห้ง กวาดใบบริเวณใต้ทรงพุ่มออกให้หมดเพื่อไม่ให้ดินชื้น ใช้สารโปแตสเซียมคลอเรต ราดหรือโรยบริเวณในทรงทรงพุ่มของต้นลำไย อัตราการใช้สาร 20 กรัม ต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มของต้นลำไย ถ้าลำไยต้นเล็ก ก็ใช้สาร 400-500 กรัม ถ้าลำไยต้นใหญ่ก็ใช้สารจำนวน 1-1.5 กก. ถ้าต้นใหญ่มากก็ใช้สารไม่ควรเกิน 2 กก แล้วใช้น้ำราดลงไปบนสารให้ทั่วจนสารละลาย หลังจากราดสารแล้วต้องให้น้ำบริเวณที่ราดสารให้ดินชุ่มชื้นอยู่อย่าให้ดินแห้ง...
หรือจะใช้สารโปแตสเซียมคลอเรต จำนวน 10 กก+13-0-46 3 กก.+ ฮิวมิค 0.5 กก น้ำ 200 ฉีดพ่นบริเวณใต้ทรงพุ่มควรทำให้ดินชุ่มชื้นก่อนฉีดพ่นจะทำให้ได้ผลดี เพื่อความมั่นใจเพื่อให้ลำไยออกดอก หลังจากให้สารทางดิน ได้ 3-7-14 วัน ทางใบใช้สารโปแตสเซี่ยมคลอเรต จำนวน 400 กรัม + 0-52-34 จำนวน 0.5 กก + แอททีฟอน 48% 100 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทางใบสามครั้ง หลังจากราดสารได้ 21 วัน ลำไยก็จะแทงช่อดอกออกมา ข้อสำคัญถ้าช่วงไหนอากาศมืดคลื้มไม่ค่อยมีแสงแดดติดต่อกันหลายวัน ไม่ควรราดสารเป็นอย่างยิ่ง เพราะแสงมีส่วนสำคํญช่วยให้ลำไยออกดอกได้ดี.
โพแทสเซียมคลอเรต (KClO3) เป็นสารเคมีที่มีใช้กันมากในการเกษตร โดยเฉพาะสวนลำไยเพื่อใช้เป็นสารเร่งดอก และผลลำไยให้ออกนอกฤดู มีลักษณะเป็นผงหรือเม็ดสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสคล้ายเกลือ ละลายน้ำได้ไม่ค่อยดี
โพแทสเซียมคลอเรต สามารถผลิตได้ด้วยกระบวนการทางเคมี โดยใช้วิธีการผ่านก๊าซคลอรีนลงในสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ที่อุณหภูมิสูงหรือวิธีการผ่านกระแสไฟฟ้าในสารละลายโพแทสเซียมคลอไรด์ อุณหภูมิ 50-60 องศาเซลเซียส ซึ่งจะเกิดโพแทสเซียมคลอเรตตกผลึกในสารละลาย
คุณสมบัติทางเคมี
- ประกอบด้วยธาตุโพแทสเซียม (K) คลอรีน (Cl) และออกซิเจน (O)
- จุดหลอมเหลว 356 องศาเซลเซียส
- ไม่ดูดความชื้น
- เป็นสารออกซิไดซ์ที่รุนแรง และจะปล่อยออกซิเจนอย่างรวดเร็วในปริมาณมาก
ความเป็นมาของการใช้โพแทสเซียมคลอเรตเร่งดอกลำไย
การค้นพบเกี่ยวกับประโยชน์ของสารโพแทสเซียมคลอเรตสำหรับใช้เร่งดอกลำไยให้ออกนอกฤดู นั้น ถูกค้นพบโดยบังเอิญโดยนักทำดอกไม้ไฟในเมืองจีน ราว พ.ศ. 2525 ที่นำประทัดไปทิ้ง และฝังไว้บริเวณโคนต้นลำไย จนสังเกต พบว่า ลำไยมีการออกดอก และติดลูกนอกฤดูในทุกปี ในช่วงหลังมีการทดลองนำน้ำล้างภาชนะใส่สารดอกไม้ และน้ำละลายสารดอกไม้ไฟมาเทรดโคนต้นลำไย จนเป็นที่ทราบว่าสารในดอกไม้ไฟสามารถทำให้ลำไยออกนอกฤดูได้ แล้วมีการทดลองใช้ และผลิตออกมาจำหน่ายในปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากจะนำเข้ามาจากประเทศจีน
วิธีการใช้
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเพื่อเร่งลำไยให้ออกนอกฤดู นิยมทำก่อนหน้าฤดูลำไยจะออกดอกในทุกปี โดยการหว่านโพแทสเซียมคลอเรตหรือใช้ละลายน้ำรดบริเวณโคนต้นลำไย ในอัตราตั่งแต่ 8 กรัม/ตารางเมตร หลังจากนั้นประมาณ 20-30 วัน ลำไยจะแทงช่อดอกออกมา ทั้งนี้ จะทำร่วมกับการตัดแต่งกิ่งจนใบลำไยที่แตกกิ่งใหม่เป็นใบแก่แล้ว ไม่ควรใช้ในระยะมีใบอ่อน เพราะจะให้ดอกน้อย
กลไกการกระตุ้นดอก
โพแทสเซียมคลอเรตเมื่อแตกตัวจะให้อนุมูลคลอเรต ที่เป็นประจุลบของ ClO3 เข้าจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสที่พืชสร้างขึ้นสำหรับเปลี่ยนไนเตรท (NO3) เป็นไนไตรท์ (NO2) และเป็นกรดอะมิโนสำหรับการเจริญเติบโตที่ได้จากการดูดแร่ธาตุในดิน
กลไกการกระตุ้นให้ลำไยออกดอกยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน แต่มีการวิจัย และตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการ คือ
1. เมื่ออนุมูลคลอเรตจับกับเอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสกลายเป็นประจุลบของ ClO2 ทำให้เอนไซม์ไนเตรทรีดักเตสไม่สามารถทำงานได้จึงส่งผลต่อการเจริญเติบโตของใบให้ชะงักลง ทำให้ต้นลำไยกระตุ้นการสร้างดอกขึ้นมาทดแทน
2. เมื่อต้นมีการหยุดชะงักของการเจริญเติบโตทางใบจากผลของ ประจุลบ ClO2 จาการใส่โพแทสเซียมคลอเรตทำให้อัตราคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ในลำต้นมีอัตราเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้ต้นลำไยเปลี่ยนตาใบเป็นตาดอกแทน
ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากโพแทสเซียมคลอเรตเป็นสารออกซิไดซืที่รุนแรง สามารถให้ออกซิเจนจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว ประกอบกับเป็นสารที่ไม่ดูดความชื้นจึงอาจเกิดการระเบิดได้ง่ายเมื่อถูกกระแทกหรือเสียดสี
2. เมื่อผสมกับวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงอโลหะ เช่น ผงถ่าน ผลอลูมิเนียม ผงสังกะสี ผงแมกนีเซียม จะมีคุณสมบัติติดไฟ และระเบิดได้ง่าย
3. การจัดเก็บ ควรจัดเก็บในโรงเรือนที่แดดไม่ส่องถึง การระบายอากาศดี ไม่มีความชื้น
ที่มา http://www.siamchemi.com
สาระน่ารู้
สารโพแทสเซียมคลอเรต (Potassium chlorate; KClO3)
มีคุณสมบัติเป็นของแข็งถ้าอยู่ในรูปผลึกจะใสและไม่มีสี
เมื่อนำมาบดเป็นผงจะมีสีขาวละลายน้ำได้น้อย โดยสาร 1 กรัม
ต้องใช้น้ำในการละลาย 16.5 มิลลิลิตร
แต่ละลายได้ดีในน้ำเดือดโดยใช้น้ำเพียง 1.8 มิลลิลิตร สารนี้
มีคุณสมบัติเป็นตัวออกซิไดซ์อย่างแรง
คือเป็นสารที่ให้ออกซิเจนในปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
จึงมีการนำสารนี้มาใช้ในการทำพลุ ดอกไม้ไฟ ทำไม้ขีดไฟ ชนวนจุดระเบิด สีย้อม
การฟอกหนัง ตลอดจนสารฆ่าเชื้อโรค สารนี้มีค่าจุดเดือดที่ 400 องศาเซลเซียส
จุดหลอมเหลว 368องศาเซลเซียส น้ำหนักโมเลกุล 122.55
และมีค่าความถ่วงจำเพาะ 2.32
http://coursewares.mju.ac.th:81/e-learning47/HO416/html/pa0098.htm